สรุปบทเรียน : โคขุนโพนยางคำ และครามสกลนคร

0

ตามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มอบนโยบายเพื่อให้วิทยาเขตฯ ดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ ด้านการการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตโคขุน ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และ การต่อยอดภูมิปัญญาครามสกล เพื่อพัฒนาเทคนิคและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากคราม เพื่อจัดเก็บเป็นองค์ความรู้ และต่อยอดด้านวิจัย และบูรณาการวิชาการของวิทยาเขตต่อไปนั้น

วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จึงได้พิจารณากำหนดแผนการจัดการความรู้ และแนวทางการจัดการความรู้ ด้านโคขุน และคราม เพื่อสอดรับกับนโยบายที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยกำหนดประเด็นความรู้ ไว้ 2 ประเด็นความรู้ คือ

  1. การพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตโคขุน ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
  2. การต่อยอดภูมิปัญญาครามสกล เพื่อพัฒนาเทคนิคและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากคราม

ซึ่งส่วนกลางวิทยาเขตฯ ได้จัดส่งแผนการจัดการความรู้ มก.ฉกส. ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาเขตพิจารณา เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 โดยมีมติเห็นชอบให้ดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ทั้งสองกิจกรรมตามแผน และเสนอให้บรรจุองค์ความรู้ด้านสมุนไพร ในแผนการดำเนินกิจกรรมเพิ่มเติมด้วยนั้น

ในการนี้ จึงขอรายงานผลการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ ตามแผนงานการจัดการความรู้ ดังนี้

 

ประเด็น
การจัดการความรู้
 

กิจกรรมการจัดการความรู้

ผลการดำเนินงาน
ระยะเวลา
ที่ดำเนินการ
จำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมเสวนา
การพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตโคขุน ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 1. เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยง/การผลิต โคขุน มาร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นความรู้

2. สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ/นักวิจัย

ครั้งที่ 1-26 ม.ค. 65 27 คน
ครั้งที่ 2-2 มี.ค. 65 22 คน
3. สร้างกลุ่ม CoP ด้านการเลี้ยง/การผลิตโคขุนเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นความรู้ ร่วมกัน แต่งตั้งคณะทำงาน/ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโคขุน เพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
4. จัดเก็บองค์ความรู้ในรูปแบบของเอกสาร และผลงานทางวิชาการ อยู่ระหว่างการดำเนินงาน
5. เผยแพร่ความรู้ในคลังความรู้ ดิจิทัลและ KM Blog มก.ฉกส. พิจารณากำหนดรูปแบบ คลังความรู้ ดิจิทัลและ KM Blog มก.ฉกส. โดยมอบฝ่ายเลขานุการดำเนินการกำหนดรูปแบบ และประสานการจัดทำ KM Blog มก.ฉกส. กับกองบริการกลางต่อไป
การต่อยอดภูมิปัญญาครามสกล เพื่อพัฒนาเทคนิคและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากคราม 1. เชิญนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขาเพื่อร่วมกันสร้างองค์วามรู้และสร้างแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับครามและผลิตภัณท์และสิ่งประดิษฐ์จากครามและสร้างแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับครามและผลิตภัณท์และสิ่งประดิษฐ์จากคราม

2. สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ/นักวิจัย

ครั้งที่ 1-26 ม.ค. 65 27 คน
ครั้งที่ 2-2 มี.ค. 65 22 คน
3. จัดเก็บองความรู้ในรูปแบบของเอกสาร และผลงานทางวิชาการ แต่งตั้งคณะทำงาน/ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโคขุน เพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
อยู่ระหว่างการดำเนินงาน
4. เผยแพร่ความรู้ในคลังความรู้ ดิจิทัลและ KM Blog มก.ฉกส พิจารณากำหนดรูปแบบ คลังความรู้ ดิจิทัลและ KM Blog มก.ฉกส. โดยมอบฝ่ายเลขานุการดำเนินการกำหนดรูปแบบ และประสานการจัดทำ KM Blog มก.ฉกส. กับกองบริการกลางต่อไป

 

ทั้งนี้ในการสรุปเนื้อหาประเด็นการเสวนาครั้งที่ 1 สามารถสรุปได้ดังนี้

KM โคขุน

ระบบสหกรณ์

แนวคิดการจัดการ การพัฒนาระบบอาหารเลี้ยงโคสำหรับสมาชิกที่เป็นธรรม การพัฒนาคุณภาพเนื้อโคสิน และเชื่อสำหรับสมาชิกผู้เลี้ยงโคเนื้อ
ผลงานวิทยาเขตที่ผ่านมา การสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ การสร้าง GI
ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.ประภากรณ์  แสงวิจิตร
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา มก.ฉกส.ควรให้ความรู้แก่สมาชิกสหกรณ์ในเรื่องระบบการดำเนินงาน และการรักษามาตรฐานให้ได้การรับรอง GI อย่างต่อเนื่อง

 

ประเด็นนำไปสู่การทำวิจัย/บริการวิชาการ   หลักสูตรการตรวจฟาร์มเพื่อรับรองมาตรฐาน

 

 

 ศักยภาพของเกษตรกร

แนวคิดการจัดการ รูปแบบการเลี้ยงที่เน้นคุณภาพ (ต้นน้ำ) การผลิตอาหารใช้เองเพื่อลดต้นทุน (TMR) การผลิตอาหารหยาบคุณภาพดี (หญ้าสด)
ผลงานวิทยาเขตที่ผ่านมา พัฒนาสูตรอาหาร ระบบคอก /พัฒนาสูตรอาหาร จากพืชในท้องถิ่น/การจัดการแปลงหญ้า ระบบพืชแซม
ผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.ธีรยุทธ  จันทะนาม  /อาจารย์ ดร.พิชาด  เขจรศาสตร์
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา การจัดการฟาร์ม /การพัฒนาสูตรอาหารสัตว์จากวัสดุท้องถิ่น
ประเด็นนำไปสู่การทำวิจัย/บริการวิชาการ   การจัดการฟาร์ม /การพัฒนาสูตรอาหารสัตว์จากวัสดุท้องถิ่น

 

การตลาดโคเนื้อ

แนวคิดการจัดการ การพัฒนาเมนูอาหารที่หลากหลายและตอบสนองต่อลูกค้าหลายระดับ
ผลงานวิทยาเขตที่ผ่านมา เมนูอาหารจากเนื้อโค หลายสายพันธุ์  เช่น โพนยางคำ  แองกัส  วากิว เปรียบเทียบกับโคพื้นเมืองงง
ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.สิทธินันท์  วิวัฒนาพรชัย /อาจารย์ธัญลักษณ์  เมืองโคตร/ อาจารย์ศุภรินทร์  มหาสวัสดิ์
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา การสร้างความร่วมมือกับร้านค้าและร้านอาหารในการพัฒนาเมนูอาหาร
ประเด็นนำไปสู่การทำวิจัย/บริการวิชาการ   พัฒนาเมนูอาหารที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในระดับต่างๆ

 

สายพันธุ์โคแม่พันธุ์

แนวคิดการจัดการ มีที่มาชัดเจนเพราะจะส่งผลต่อระบบการผสมเทียม/คุณภาพน้ำเชื้อที่มาผสม
ผลงานวิทยาเขตที่ผ่านมา การตรวจหา DNA
ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.พิชาด  เขจรศาสตร์/อาจารย์ภานุวัฒน์  คัมภีราวัฒน์
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา การพัฒนาสายพันธุ์ที่มีแหล่งที่ชัดเจน
ประเด็นนำไปสู่การทำวิจัย/บริการวิชาการ   การตรวจสอบย้อนกลับแม่พันธุ์

 

แหล่งที่มาของลูกโคต้นน้ำ

แนวคิดการจัดการ มีที่มาชัดเจนเพราะจะส่งผลต่อระบบการขุน และคุณภาพเนื้อ
ผลงานวิทยาเขตที่ผ่านมา การตรวจหา DNA
ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ภานุวัฒน์  คัมภีราวัฒน์/ ผศ.ดร.วัชรวิทย์  มีหนองใหญ่
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
ประเด็นนำไปสู่การทำวิจัย/บริการวิชาการ  

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเศษซากโค (หนัง  เครื่องใน  เลือด  เท้า)

แนวคิดการจัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น หนังโคย้อมคราม สัมเท้าวัว  โปรตีนจากเลือด
ผลงานวิทยาเขตที่ผ่านมา
ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.ประภากรณ์  แสงวิจิตร/ อาจารย์ธัญลักษณ์  เมืองโคตร
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา พัฒนารายการผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในระดับต่าง
ประเด็นนำไปสู่การทำวิจัย/บริการวิชาการ   พัฒนารายการผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในระดับต่างๆ

KM คราม indigo

นักวิจัย/ผู้เชี่ยวชาญ

ความคาดหวัง หรือสิ่งที่จะได้จากการทำ KM

  • ความเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่สามารถเอื้อต่อการพัฒนางานวิจัยร่วมกันได้
  • เครือข่ายนักวิจัยในด้านเดียวกัน ได้องค์ความรู้เกิดขึ้น รวมถึงสร้างเครือข่ายวิจัยเฉพาะทางเกิดขึ้น

Specialist_No.1

.ดร.ภูริชชญา  แตปรเมศามัย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม ซึ่งแรกเริ่มมาจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการข้าวอินทรีย์ โดยร่วมกับ กองบริหารการวิจัยและบริการวิชาการได้เชิญเข้าร่วมเป็นทีมที่ปรึกษา

หัวข้อสำคัญ

  • พัฒนาผลิตภัณฑ์/สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่/สินค้าที่มีอัตลักษณ์และไม่ซ้ำกับใคร
  • ไม่เน้นสินค้าชนิดเดิมที่ถึงจุดที่ไปต่อไม่ได้แล้ว

แนวคิด

  • Product Thinking & Design

ผลงานวิทยาเขตที่ผ่านมา

  • การพัฒนานวัตกรรมผ้าไหมย้อมคราม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
    • พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับรายได้
    • การผลิตน้ำครามที่มีคุณภาพ เพื่อแก้ไขในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ การพัฒนาค่า Pigment ของน้ำคราม สีคราม เพิ่มมูลค่า
    • คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตรสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องระบบน้ำในแปลงปลูก
    • นักวิจัยที่อยู่ในภาคของต้นน้ำ คือ ผศ.ดร.ภาคภูมิ ตันเตชสาธิตซึ่งมีผลงานวิจัยร่วมกับทาง มศว. เรื่องของการปลูกครามและฝ้ายอินทรีย์

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

  • พัฒนาผลิตภัณฑ์/สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่/สินค้าที่มีอัตลักษณ์และไม่ซ้ำกับใครไม่เน้นสินค้าชิดเดิมที่ถึงจุดที่ไปต่อไม่ได้แล้ว
  • การพัฒนาทางด้านการตลาด โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาและยกระดับ ถนนผ้าคราม และ Cluster Kram Sakon Nakhon ร่วมกับสถาบันสิ่งทอ มีอาจารย์ช้าง ศักดิ์จิระ เวียงเก่าศิลปินด้านการพัฒนาลายผ้าฝ้ายทอมือแห่งเมืองแพร่ เพื่อพัฒนาเรื่องการออกแบบชุดผ้าฝ้ายย้อมครามและออกแบบลายผ้าที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับใคร เพราะต้องหลีกหนีเรื่องการ Copy เพราะเราห้ามการ Copy ไม่ได้ แต่เราแก้โดยออกแบบใหม่เพื่อให้เกิดความต่างและคำนึงถึงความต้องการของตลาดเฉพาะที่เป็นลูกค้าสำคัญของธุรกิจ
  • ผศ.ดร.แพรทอง เหลาภา
    • เสนอแนะในส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านครามในโครงการสกลนครโมเดล ทั้งต้นน้ำการผลิตครามและการจัดการระบบน้ำ
    • แนะนำวิทยากร อาจารย์ช้าง ในเรื่องของ Concept Design ซึ่งเราจะได้ Collection กลาง และ Collection ชุมชน
    • การนำผ้าครามมาตกแต่ง สร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่า ในโครงการ E-SAN Gastronomy
  • การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในการวิจัยแต่ละเรื่อง เพื่อปรับแก้ให้มีข้อด้อยและข้อเสียน้อยที่สุด พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีมิติที่ชัดเจน
  • การนำแรงงานนอกระบบมาเป็นกำลังสำคัญในการผลิต

ประเด็นนำไปสู่การทำวิจัย

  • New Product (Unity and Identity Thinking & Design)
  • การตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Traceability
  • เสนอหัววิจัยข้อใหม่ เน้น ข้าว กับ บัว เพื่อความแตกต่างและชิงการตลาดได้ อาทิ ผ้าทอบัว (เส้นใยบัวจากอุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ) และเรามีผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านข้าว (ทอ.) อยู่แล้ว จึงทำให้มีข้อได้เปรียบและนำสู่ความเป็นเลิศ
  • ผศ.ดร.แพรทอง เหลาภาสนับสนุนงานวิจัยด้าน Design เพื่อการออกแบบผ้าใหม ผ้าฝ้ายธรรมชาติ ที่สวยงามมีเอกลักษณ์และตามออเดอร์ลูกค้ากลุ่มเฉพาะ เพื่อให้ได้ซึ่งการย้อมด้วยน้ำครามที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูง

หมายเหตุ

ผศ.ดร.สิทธิชัย ฮะทะโชติ

  • ถ่ายทอดข้อเสนอแนะจาก อ.ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะฟู้ดสไตลิสต์ระดับแนวหน้าของไทย ในเรื่องของความเป็นไปได้ในการนำครามมาบูรณาการร่วมกับอาหารและสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ากันได้ เช่น Kram Sakon Nakhon Theme
  • ผศ.ดร.แพรทอง เหลาภาเสนอแนะ
    • ครามใช้ร่วมกับอาหารได้แน่นอน แต่ต้องมีวิธีการสกัดที่เหมาะสม จึงน่าจะเป็นโจทย์วิจัยที่จะต้องดำเนินการในลำดับต่อไป
    • โจทย์วิจัยอีกอย่างคือ การออกแบบและทักทอด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบเรื่องศิลปวัฒนธรรม หรือความสัมพันธ์ Art and Mass ด้วย
  • แจ้งความก้าวหน้าเรื่องผ้าทอบัว (เส้นใยบัว) ของกลุ่มทอผ้า แม่สุ่ม บ้านถ้ำเต่า อ.อากาศอำนวย กำลังจะได้รับการเปิดเผยข้อมูลและผลิตภัณฑ์ต้นแบบในเร็ววันนี้

Specialist_No.2

.ดร.ประภากรณ์  แสงวิจิตร คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

  • การกำเนิด Cluster Kram จากงบประมาณของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จังหวัดขอนแก่นนั้น ทำให้เกิดการพัฒนาครามสู่สากลได้ แต่มีหลายปัจจัย ดังนี้
    • เมล็ดพันธุ์และกรรมวิธีการปลูกครามในสกลนครยังไม่มีคุณภาพที่ยอมรับได้ในระดับธุรกิจสิ่งทอ (การย้อม) สีที่สดใสและความคงทน
    • ครามต้นน้ำ วัตถุดิบไม่เพียงพอ การให้ครามเคมีผสมในน้ำคราม เป็นอุปสรรคในการพัฒนา
    • โครงการพัฒนาครามสู่สากลมีปัจจัยความสำเร็จหรือตัวชี้วัดอยู่ที่ การพัฒนาเรื่อง การออกแบบ Design และการพัฒนาเรื่องกระบวนการการผลิต
    • “การย้อมหนังโคขุน” เป็นการต่อยอดการวิจัยของ อ.ดร.ประภากรณ์  แสงวิจิตร

Specialist_No.3

ผศ.ดร.แพรทอง เหลาภา คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

  • นวัตกรรมการย้อมครามที่ได้จากการรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคราม ผนึกกับวิทยาการการปลูกการผลิต และวิทยาศาสตร์นวัตกรรม
  • มาตรฐานและคุณภาพครามต้นน้ำ โดย ดร.วาสนา แผลติตะ มทร.วิทยาเขตสกลนคร โดยการปลูกครามแบบแม่นยำ ในโครงการสกลนครโมเดล ต้นครามให้ผลผลิตสูง น้ำครามมีสีที่เข้มสูง เนื้อครามคุณภาพมาตรฐานสูง ผ่านมาตรฐานการวิจัยร่วมกับการย้อมผ้าฝ้ายธรรมชาติได้อย่างน่าพึงพอใจมากที่สุด ทำให้ลดต้นทุน เพิ่มกำไรและผลิตภัณฑ์สวยงาม มีคุณภาพมาตรฐาน และรูปแบบที่ยอมรับของตลาดอย่างมาก
  • งานวิจัยเรื่องครามฝักตรง ฝักงอ โดย ดร.วาสนา แผลติตะ มทร.วิทยาเขตสกลนคร
  • ดินที่ใช้ในแปลงปลูก ที่มีคุณภาพส่งต่อการได้ผลผลิตครามที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูง ได้จากงานวิจัยเรื่องดินมีชีวิต ของ ผศ.ดร.แพรทอง เหลาภาและคณะ
  • ดร.จิตรา พึ่งพานิช ที่ปรึกษาพิเศษมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครได้กล่าวสรุปเรื่องการบูรณาการงานวิจัยโดยการนำองค์ความรู้ของ ผศ.ดร.แพรทอง เหลาภา มาใช้พัฒนาต่อยอดงานวิจัยของ อ.ดร.ประภากรณ์  แสงวิจิตร และ อ.ดร.ภูริชชญา  แตปรเมศามัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นเลิศทางงานวิจัยได้
  • 5 ผศ.ดร.วุธิพงศ์ภักดีกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ เชื่อมโยงเรื่องกำเนิดถนนผ้าคราม ร่วมกับพานิชจังหวัด และเครือข่าย Cluster Kram Sakon และเป็นที่มาของการพัฒนาครามในเรื่องสมุนไพรและเครื่องสำอาง ซึ่งมีผลงานนวัตกรรมในนาม มก. และมีผลงานตีพิมพ์ Q2

Specialist_No.4

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชสา ประมวลเจริญกิจ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

  • จากโครงการ U2Tบ้านถ้ำเต่า อ.อากาศอำนวย ได้มีการจัดทำ Back Office, Database เรื่องการผลิตแต่ละส่วนประกอบวัตถุดิบของการผลิตผ้าคราม
  • จากโครงการแปรรูปผ้า สร้างสรรค์ผลงาน สร้าง Pattern จำนวน 10 Product มีลายประจำถิ่น ลายนาคไตรเครือดอกคูณห้า (? ไม่แน่ใจ) ได้ลิขสิทธิ์ สอนวิธีการมัดย้อม ทอ เรียบร้อยแล้ว รวมถึงวิทยาการจัดการเชิงวิศวะกรรมศาสตร์ มอบให้กับชุมชน

แชร์...