สรุปบทเรียน การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19

0

การถอดบทเรียนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19

เรื่อง รูปแบบและวิธีการ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่สามารถวัดผลการเรียนรู้ของนิสิต

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

 บทนำ

ตามที่ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ประกาศหยุดการเรียนการสอนและแนวทางการจัดการเรียน
การสอน การสอบ และการวัดผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร หลังจากมีการ
แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เมื่อต้นปี 2563 ทำให้เกิดผลกระทบทั้งผู้เรียนและผู้สอนในการปรับตัวจากการเรียน
การสอนในห้องเรียนเป็นการสอนออนไลน์ เพื่อให้การเรียนรู้เกิดความต่อเนื่อง การเรียนการสอนแบบออนไลน์จึงต้องเข้ามา
มีบทบาทต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ที่สอดคล้องกับยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็ว ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา

การเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่อหลากหลายประเภท ทั้งยังสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านอุปกรณ์อิเลคทรอนิคและระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตามความต้องการ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยผู้เรียนจำเป็นต้องมีทักษะทางด้านการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้นิสิตสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง การจัดการความรู้ เรื่อง รูปแบบและวิธีการการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่สามารถวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนิสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ของอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้สอนในวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ซึ่งได้ปรับวิธีการเรียนการสอนตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID – 19 เข้าสู่ระบบการสอนในห้องเรียนออนไลน์ในประเด็นองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล ซึ่งมีรูปแบบการเรียนการสอนหลากหลายวิธี ที่ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ การพิจารณาองค์ประกอบและรูปแบบที่สอดคล้อง เหมาะสมกับลักษณะวิชา และบริบทของผู้เรียนจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

 กระบวนการจัดการความรู้

การถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด
ของไวรัส COVID-19 ได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์
โดยสามารถสรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้จากการจัดการเรียนการสอนดังนี้

 ความรู้ใหม่ที่ได้จากการจัดการความรู้

รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ มีหลายรูปแบบ ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและมีการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค Covid 19  วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ในหลายรูปแบบ โดยผ่าน โปรแกรม Microsoft Team, Zoom, OBS, Facebook Live
เป็นต้น ภายใต้ประเด็นปัญหา “การจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้สามารถวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนิสิตได้” เพื่อจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และบรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน  คณะกรรมการจัดการความรู้ได้
ถอดบทเรียนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่าการเรียนการสอนออนไลน์จะประสบความสำเร็จ อาจารย์ผู้สอนต้องมีบทบาทตามองค์ประกอบดังนี้

  1. รายวิชาที่ทำการเรียนการสอนความรู้ความชำนาญในเนื้อหาที่สอน การวางแผนการจัดการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน ออกแบบประมวลผลรายวิชาออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและชัดเจน โดยชี้แจงกิจกรรมในรายวิชา ความรับผิดชอบและหน้าที่คาดหวังของผู้เรียน เกณฑ์การประเมินผลจัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและแจ้งให้ผู้เรียนทราบในการสอนทุกครั้ง
  2. ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ชี้แจงแนวทางการจัดการเรียนการสอน การมอบหมายงานการเรียน กำหนดการส่งงานอย่างชัดเจน เลือกใช้แหล่งการเรียนรู้ ตัวอย่าง เครื่องมือ และกลยุทธ์ที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียนทั้งด้านความต้องการ
    ความสนใจ และประสบการณ์ สร้างแรงจูงใจในการเรียนออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
  3. เทคนิคการสอนและการจัดการสื่อการสอน ให้คำแนะนำการเรียนแต่ละหัวข้อการอภิปรายอย่างชัดเจนเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเมื่อผู้เรียนเผชิญปัญหาต่าง ๆ
  4. ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สอน อาจารย์ผู้สอนออนไลน์จะต้องมีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขั้นพื้นฐาน สามารถใช้โปรแกรมการนำเสนอ โปรแกรมการพิมพ์งานต่าง ๆ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเทอร์เน็ต มีทักษะด้านการเขียนเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการใช้ระบบจัดการเรียนรู้และเครื่องมือออนไลน์
  5. การวัดผลการเรียนรู้ของนิสิตนิสิตจะต้องออกแบบการประเมิน ด้วยวิธีการอ่าน การเขียน การคำนวณ
    ที่สะท้อนความสามารถทางการคิดระดับสูง ประกอบด้วย ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การประเมินผลที่หลากหลายในการสะท้อนความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนและการประเมินตนเอง เช่น การประเมินด้วยการเขียนตอบ บทความ การนำเสนอด้วยมัลติมีเดีย แฟ้มสะสมงาน กำหนดเกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้เรียน ใช้เครื่องมือวัดที่เป็นกลางและมีความเท่าเทียม การประเมินการมีส่วนร่วมในการเรียน โดยอาจประเมินจากการสนทนา ความก้าวหน้าของผู้เรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม

รูปแบบและวิธีการ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่อาจารย์ใช้ และเหตุผลในการเลือกใช้

รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่อาจารย์แต่ละคณะฯ เลือกใช้เป็นรูปแบบที่ผสมผสานหลายรูปแบบ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา และหัวข้อในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งระบบที่อาจารย์เลือกใช้มากที่สุด คือ Zoom meeting, Facebook โดยการสตรีมมิ่งผ่าน OBS studio streaming, Google classroom,  โปรแกรม Quizizz เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงง่าย สามารถเก็บรวบรวมและแชร์ไฟล์งาน ไฟล์เอกสารประกอบการสอน แชร์คลิปวีดิโอในการจัดการเรียนการสอนต่างๆ ให้นิสิตทุกคน Download ดาวน์โหลดได้ พร้อมทั้งมีการรวบรวมไฟล์งานที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระเบียบ มีระบบการแจ้งเตือนก่อนหมดเวลาส่งงานอย่างชัดเจน ส่วน Microsoft team มีอาจารย์บางท่านที่นำระบบมาใช้ เนื่องจากระบบมีความเสถียร และเป็นรูปแบบที่มหาวิทยาลัยนำมาใช้ในการจัดประชุม สัมมนา มากขึ้น และมีการนำ Google classroom มาช่วยในการเรียนการสอนมากขึ้นเนื่องจากเป็นระบบที่ใช้ได้ง่าย ระบบที่อาจารย์ใช้น้อยลง คือโปรแกรม Zoom เนื่องจากมีการจำกัดเวลา แต่สามารถนำระบบ Zoom มาร่วมในการควบคุมการสอบออนไลน์ มากขึ้น

  • อาจารย์เตรียมความรู้เกี่ยวกับรูปแบบออนไลน์ที่จะใช้สอน วิธีการใช้ เลือกให้เหมาะสมกับความสามารถของตนเองในการใช้ IT
  • เตรียมความพร้อมของนิสิตในการเรียนแบบออนไลน์โดยแจ้งข้อมูลให้นิสิตทราบ นัดหมายเวลากับนิสิต ในกลุ่ม Line, Facebook กลุ่มปิด , กิจกรรมในชั่วโมงการเรียนการสอนนั้นและการประเมินผล
  • เตรียมเนื้อหาการสอนในรูปแบบ PowerPoint, pdf, วีดีโอ
  • เตรียมแบบฝึกหัดภายหลังการเรียน
  • เตรียมข้อสอบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในรายวิชา ที่เป็นลักษณะการนำไปใช้ และสามารถใช้สอบในรูปแบบข้อสอบออนไลน์ Google form
  • เริ่มสอนตามเวลา ให้นิสิตรายงานตัว บอกรหัสเพื่อเป็นการเช็คชื่อ
  • สอนตามเวลา ไม่ยาวมากเป็นการสิ้นเปลืองอินเตอร์เน็ตนิสิต
  • ติดตามการสอนออนไลน์โดยใช้ช่องทางการสื่อสารอื่นช่วยโดยเลือกช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น Line chat เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรึกษาผู้สอนได้ตลอดเวลา
  • ใช้การตั้งคำถามแทนการบรรยายอาจมีเกมส์ หรือ VDOแทรกเพื่อส่งเสริมการทำความเข้าใจ
  • สอนผ่านโปรแกรม Facebook live เป็นการสอนแบบ real time และนำเสนอขึ้นหน้าจอเพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนมีการ Reflection ต่อกันตลอดเวลา เป็นการเรียนผ่านออนไลน์แบบ Active learning ผู้สอนจะมีการกระตุ้นพูดคุยถามตอบขณะสอนตลอดเวลา มีเพลงให้กำลังใจ
  • ขณะสอนจะทำการบันทึกไฟล์การสอนเผื่อต้องการทบทวนซ้ำ
  • ขณะสอนจะมีการซักถาม หรือตั้งข้อคำถามชวนตอบ และมีการให้คะแนน
  • ให้รางวัลชมเชยทุกครั้งที่นิสิตมีวินัยในการเรียน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียน

การประเมินผล

  • สอบในรูปแบบข้อสอบออนไลน์ Google form
  • แจ้งเวลาในการสอบวัดและประเมินผลที่ชัดเจน ระบบที่ใช้ในการสอบ การเตรียมความพร้อมอินเตอร์เน็ต
  • การทำข้อสอบเพื่อทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนตลอดการสอน
  • มีระบบการทดสอบ Online ให้นิสิตทบทวนอยู่เสมอ
  • การประเมินผลการเรียนในลักษณะการมอบหมายงานล่วงหน้าและจากการทดสอบย่อยในระบบการสอบออนไลน์
  • ติดตามการสอนออนไลน์โดยใช้ช่องทางการสื่อสารอื่นช่วยโดยเลือกช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น Line chat เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรึกษาผู้สอนได้ตลอดเวลา ทั้งก่อนชั่วโมงการเรียนการสอน ระหว่างการเรียนการสอนและหลังชั่วโมงการเรียนการสอน
  • กำหนดระเบียบและทำข้อตกลงในการเรียนกับนิสิตให้ชัดเจน
  • ชี้แจงแนวทางการจัดการเรียนการสอน การมอบหมายงานการเรียน กำหนดการส่งงานอย่างชัดเจน
  • จัดรูปแบบการเรียนที่ให้นิสิตแสดงความคิดเห็นผ่าน Quizizz
  • ใช้คำถามนำเข้าเรื่องที่กำลังจะเรียน เพื่อให้เกิดบรรยากาศการมีส่วนร่วมการสอบถามความคิดเห็นของนิสิตระหว่างเรียนแบบ face to face และเมื่อสิ้นสุดการเรียนในแต่ละครั้ง
  • การให้ทำแบบประเมินผลการสอนออนไลน์
  • ใช้แบบทดสอบผ่านระบบ Quizizz ประเมินความรู้ และประเมินความพึงพอใจในGoogle Form

ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และแนวทางแก้ไข

  • อินเตอร์เน็ตไม่เสถียร นิสิตบางรายที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล อาจมีปัญหาต่อการใช้งานของอินเตอร์เน็ต วิธีแก้ไขคือ โหลดไฟล์การสอนไว้ในเฟสบุคกลุ่มเพื่อให้นิสิตเข้ามารับชมการสอนได้เสมอ
  • นิสิตยังใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ในโปรแกรมไม่เป็น เช่น การ Share VDO แก้ไขโดยการให้คำแนะนำทั้งการพูดอธิบายและพิมพ์ข้อความบนหน้าจอ
  • การเข้ากลุ่มออนไลน์ของนิสิตแต่ละคนไม่พร้อมกัน แก้ปัญหาโดยแจ้งเวลาให้นิสิตทราบล่วงหน้า พร้อมส่งLink และมีการเตือนก่อนเวลาเรียน

ข้อจำกัด

  • ทักษะของผู้สอนในการใช้โปรแกรมต่างๆ เทคนิคขั้นพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสามารถช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้เข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะต้องเข้ารับการอบรมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้มีความคุ้นเคยกับฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในโปรแกรมที่ต้องการใช้ก่อน
  • ทักษะของผู้เรียนในการเข้าถึงการเรียนโดยการใช้โปรแกรมแต่ละชนิดที่ผู้สอนปรับเปลี่ยนไปในแต่ละครั้งอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเครียดจากการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปและไม่คุ้นเคย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคจากการเชื่อมต่อของเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้อีกด้วย
  • หากสัญญาณไม่ดี อาจจัดให้มีการเรียนการสอนไม่ได้ตามที่วางแผนไว้
  • ไม่มีบรรยากาศร่วมในการเรียนการสอน
  • ถ้าอาจารย์ใช้แอพพิเคชั่นแตกต่างกันมาก ๆ นิสิตที่ใช้เรียนจากโทรศัพท์จะไม่สะดวก อาจไม่สามารถติดตั้งแอพพิเคชั่นได้ครบทุกประเภท
  • ขาดการมีปฏิสัมพันธ์ ขาดการทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียนซึ่งอาจไม่สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในรายวิชาอย่างแท้จริง

การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนในวิถีชีวิตใหม่(New normal)

วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร กำหนดแนวทางจัดการเรียนการสอน การสอบ และการดำเนินกิจกรรมของนิสิต ในปีการศึกษา 2563 ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การสอบ และการดำเนินกิจกรรมของนิสิต ภาคต้น ปีการศึกษา 2563 ตามมาตรการผ่อนคลายในสถานการณ์การลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) โดยมีมาตรการและปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอนดังนี้

ด้านการจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนตามมาตรการรักษาระยะห่าง

วิทยาเขตจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ “Hybrid Classroom”(การเรียนการสอนแบบผสมผสาน)
โดยจัดห้องเรียนให้สามารถสอนในห้องเรียนและสอนออนไลน์ไปพร้อมๆกัน โดยมีมาตรการรักษาระยะห่าง ดังนี้

  1. 1. กำหนดจำนวนผู้เรียนต่อห้องเรียน โดยใช้ระบบสารสนเทศตารางเรียนเพื่อ

1) แสดงจำนวนผู้เรียน/ห้องเรียนตามมาตรการรักษาระยะห่างเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนสามารถวาง แผนการจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม (1 คน: 5 ตร.ม.)

2) แสดงข้อมูลวิธีการเรียนออนไลน์แต่ละรายวิชาให้นิสิตทราบ

  1. จัดหาอุปกรณ์ห้องเรียนแบบHybridclassroom โดยวิทยาเขตจัดหา laptop และอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมทุกห้องเรียนบรรยายเพื่อใช้สอนออนไลน์ควบคู่การสอนในห้องเรียน และลงโปรแกรมการสอนออนไลน์มาตรฐานไว้ทุกเครื่อง
  2. วางมาตรการคัดกรองการเข้าชั้นเรียน ลดช่องทางการเข้าออกวิทยาเขตและอาคารเรียน จัดให้มีจุดตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าวิทยาเขตและอาคารเรียน จัดหาเจลแอลกอฮอล์ประจำห้องเรียน กำหนดให้นิสิตสวมหน้ากากอนามัยในการเข้าชั้นเรียน

การสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์

วิทยาเขตสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยจัดทำห้องเรียนออนไลน์ Mini studio เพื่อสนับสนุนด้านอุปกรณ์และด้านเทคนิคการสอนออนไลน์ และจัดอบรมเทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แก่อาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

Kucsc Mini Studio Service

    ด้านการจัดการสอบ

รูปแบบการวัดและประเมินการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนสำหรับการจัดการเรียนการสอน Online โดยเฉพาะการสอบ สามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหาและสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น จัดการสอบแบบเว้นระยะภายในมหาวิทยาลัย โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการปฏิบัติตัวในสถานการณ์
โควิด-19 ของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้แล้วยังสามารถจัดการสอบแบบออนไลน์ โดยกำหนดแนวทางการจัดสอบแต่ละภาคเรียนตามสถานการณ์และนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยมีการพัฒนาระบบสอบออนไลน์ของตนเองขึ้นมาใช้สอบวิชาบูรณาการตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 และปรับมาใช้ระบบสอบออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(KULAM)ในปีการศึกษา 2563 และเริ่มใช้ระบบZoom ร่วมในการควบคุมการสอบออนไลน์ ตั้งแต่ภาคปลาย ปีการศึกษา 2563
มีรายวิชาที่ใช้ระบบสอบออนไลน์ของส่วนกลางรวมทั้งสิ้น 20 รายวิชา คิดเป็นจำนวนนิสิต 4,000 ราย

 

          สรุปเรื่องการวัดผลการเรียนการสอนด้วยการสอบออนไลน์ด้วยระบบKULAM ของมก.ฉกส. “การจัดสอบออนไลน์ทุกที่ในปัจจุบัน ไม่สามารถควบคุมการทุจริตได้ 100 % โดยเฉพาะวิทยาเขตที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ ความสำเร็จของการสอบออนไลน์ของวิทยาเขต คือ 1. ทำให้เกิดการสอบและวัดผลนิสิตจำนวนมาก คือ ใช้การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้นิสิตทราบและสามารถเข้าสอบได้เกือบทั้งหมด นิสิตมีความเข้าใจการใช้งานระบบสอบ ใช้วิธีการบริหารจัดการ เพื่อให้ระบบสามารถรองรับการสอบจำนวนมากได้โดยที่ระบบไม่ล่ม ทำให้การสื่อสาร การแนะนำนิสิตเพื่อให้ให้นิสิตทำข้อสอบได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก คือ ปัญหาเรื่องเทคนิคอุปกรณ์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต สามารถจัดการสอบจนทำให้นิสิตสอบได้จนจบมีผลคะแนน เพื่อให้อ.นำไปตัดเกรดได้ ส่วนการวัดผลด้วยการตัดเกรด อาจารย์ผู้สอนจะต้องเป็นผู้พิจารณากำหนดขึ้น ตามวัตถประสงค์รายวิชา อาจต้องปรับวิธีการตามสถานการณ์ เช่น ลดสัดส่วนคะแนนสอบปรนัย เพิ่มคะแนนสอบอัตนัย เพิ่มคะแนนส่งงาน (ส่วนรายวิชาเฉพาะทางขนาดเล็กอ.จะต้องปรับวิธีการสอบให้เหมาะสมกับรายวิชา ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบKULAMเสมอไป เนื่องจากระบบKULAM เหมะากับข้อสอบปรนัย ในรายวิชาขนาดใหญ่ หรือการจัดสอบจำนวนมากโดยใช้ทัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสอบสูงสุด)

ด้านการจัดกิจกรรม

ปีการศึกษา 2563 วิทยาเขตได้จัดกิจกรรมสำหรับนิสิตใหม่ในรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด เพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของนิสิตจำนวนมาก โดยการจัดกิจกรรมนิสิตออนไลน์ เพื่อให้นิสิตได้มีกิจกรรมเสรมิทักษะการเรียนรู้

 

การเลือกแพลตฟอร์มการจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์การเลือกแพลตฟอร์มการจัดการเรียน สิ่งสำคัญ คือ การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ต้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งนี้การเลือกใช้แพลตฟอร์มจะต้องเป็นไปตามความต้องการของบุคลากรส่วนใหญ่ที่มีความถนัด และใช้งานสะดวก ซึ่งการเลือกใช้แพลตฟอร์มเดียว จะทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้เรียน และการเลือกใช้ แพลตฟอร์ม
ใด ๆ ก็ตาม จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมในการใช้งานให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ให้สามารถใช้งานคล่องและมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ แนะนำการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน “KU Work & Learn From Home” ดังนี้

 

  1. KU CISCO WEBEX MEETINGS : การประชุม / การเรียนการสอนอาจารย์ผู้สอนสามารถดาวโหลด

คู่มือการติดตั้ง Cisco Webex Meeting Desktop App

วิธีการใช้งานระบบประชมออนไลน์ KU Webex Meeting

รองรับจำนวนได้ 1,000 คน

สมัครใช้งานได้ที่เว็บ  https://itsupport.ku.ac.th (login ด้วย account nontri [@ku.ac.th])

ดาวน์โหลด ขั้นตอนการสมัครใช้งานและคู่มือการใช้งาน

เอกสารการใช้งาน Webex Meeting

เอกสารการใช้งาน Webex Training Center (ภาษาไทย)

เอกสารการใช้งาน Webex Event Center

การทำ Poll แบบไม่แสดง Attende แสดงเฉพาะผลของ Poll

  1. MICROSOFT TEAMS : การประชุม / การเรียนการสอน

รองรับจำนวนได้ 250 คน

เข้าใช้งานได้ที่เว็บ https://www.office.com โดยใช้  account ของ มก. [account@live.ku.th]

สามารถดาวน์โหลดคู่มือการติดตั้ง และ ดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานได้

  1. GOOGLE MEET : การประชุม

รองรับจำนวนได้ 100 คน

สมัครเข้าใช้งานได้ที่ https://meet.google.com/

สามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานได้ที่ http://bit.ly/googlmeet

  1. GOOGLE CLASSROOM PLATFORM FOR LMS : การเรียนการสอน / การสอบ

สมัครเข้าใช้งานได้ที่ https://meet.google.com/

รับชมย้อนหลัง แนะนำการสร้างข้อสอบออนไลน์ หัวข้อ “Online Examination with Google Form

สามารถดาวน์โหลดเอกสารการใช้งานสำหรับผู้สอน การสร้างข้อสอบ Online [โดย ศูนย์คอมพิวเตอร์ วิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก.]

  1. EDUFARM : ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ มก.

อาจารย์ นิสิต ใช้งานได้ที่เว็บไซต์ https://edufarm.ku.ac.th/ ผ่าน account ของ มก. [account@ku.ac.th]

  1. DIGITAL ID : ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (DIGITAL ID) ส่วนบุคคลเครือข่ายนนทรี

ดูรายละเอียด คู่มือติดตั้งใช้งาน Kasetsart University Digital Identity
(KU Digital ID) version ใหม่ (เพิ่มขั้นตอนแนะนำ สำหรับผู้ที่ใช้งานอ่านเอกสารไฟล์ PDF อย่างเดียว) และคลิปวีดีโอการใช้งาน ได้ที่นี่ https://did.ku.ac.th

  1. MICROSOFT YAMMER : การสื่อสารในองค์กร[ใช้แทน KU WORKPLACE]

Yammer ช่วยให้เชื่อมต่อและมีส่วนร่วมทั่วทั้งองค์กร เป็นเครื่องมือเครือข่ายสังคมเพื่อเชื่อมต่อและมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยทั่วทั้งองค์กร เปรียบเทียบ Yammer คือ Facebook ของ Microsoft โดยจะรวมเข้ากับ
แอปและบริการที่ใช้อยู่แล้วผ่าน Office 365

สามารถดาวโหลดคู่มือการใช้งานโปรแกรม Microsoft Yammer : พื้นฐาน

 

 

แชร์...