สรุปบทเรียน แนวทางการให้คำปรึกษาและดูแลนิสิตพิเศษ

0

สรุปบทเรียนการจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางการให้คำปรึกษาและดูแลนิสิตพิเศษ
วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ณ ห้องพระพิรุณ และการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Cisco WebEx

เวลา 08.30 – 12.00 น.

…………………………………………………………………………………………………………

หลักการและเหตุผล

ด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพองค์กร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้กำหนดกิจกรรมการจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางการให้คำปรึกษาและดูแลนิสิตพิเศษ
ซึ่งเป็นแผนการจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการองค์กร ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนให้มี
ขีดความสามารถในการแข่งขัน มีคุณภาพทางวิชาการ ทักษะทางวิชาชีพ และมีคุณธรรม โดยกำหนดประเด็นการจัดการความรู้ ในหัวข้อ แนวทางการให้คำปรึกษาและดูแลนิสิตพิเศษ การสังเกตพฤติกรรมของนิสิตในภาวะความเครียดทางอารมณ์
วิธีการและแนวทางการคัดกรองนิสิตพิเศษ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้อาจารย์และบุคลากร ได้มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการ
และการบริหารจัดการการดูแลนิสิตพิเศษ มีทักษะในการสังเกตพฤติกรรมของนิสิตในภาวะความเครียดทางอารมณ์ พร้อมทั้งแนวทางการให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาต่อนิสิต เมื่อนิสิตเกิดความกังวลใจ หรือมีปัญหาติดขัดทั้งในเรื่องการเรียน การใช้ชีวิต

 กำหนดการ

เวลา 08.30 – 09.00 น.      ผู้เข้าร่วมเสวนา ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องพระพิรุณ ชั้น 2 อาคารบริหารและ

ลงทะเบียนการประชุมออนไลน์ด้วยโปรแกรม Cisco WebEx

เวลา  09.00 – 09.30 น.  –     ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ รองประธานกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพ

องค์กร มก.ฉกส. กล่าวเปิดกิจกรรมและนำเข้าสู่การเสวนา ในหัวข้อ แนวทางการให้คำปรึกษา

และดูแลนิสิตพิเศษ

  • พิธีกร นำเสนอกำหนดการ และแนะนำวิทยากรหลักในการเสวนา พร้อมแนะนำผู้นำเสนอของแต่ละส่วนงาน

เวลา 09.30 – 12.00 น.      ดร.จิตรา  พึ่งพานิช เริ่มการเสวนาในหัวข้อต่อไปนี้

  1. การสังเกตพฤติกรรมของนิสิตในภาวะความเครียดทางอารมณ์
  2. วิธีการและแนวทางการคัดกรองนิสิตพิเศษ

(รับประทานอาหารว่าง ระหว่างการเสวนา)

เวลา 12.00 – 12.30 น.   รับประทานอาหารกลางวัน (ข้าวกล่อง)

คุณเอื้อ                                      : อาจารย์ฉัฐวัฒน์  ลิมป์สุรพงษ์

คุณอำนวย (ถอดองค์ความรู้)         : ดร.จิตรา  พึ่งพานิช /อาจารย์เกรียงไกร  พร้อมนฤฤทธิ์
/ผศ.ดร.กรรณิการ์  วงษ์พานิชย์

คุณประสาน                                : ผู้อำนวยการกองบริหารทั่วไป

คุณกิจ                                       :

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและกิจการนิสิต
ดร.จิตรา  พึ่งพานิช
คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์
รองคณบดีฝ่ายบริหารและแผน (อาจารย์ ดร.รัชฎาภรณ์  อึ้งเจริญ)
อาจารย์ ดร.นิติกร  ภู่สุวรรณ
รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต (อาจารย์ ดร.ณภสินธุ์  พัฒนากุล)
รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนพร ขจรผล)
รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ กลิ่นเลขา)
รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต (ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.วรินท์มาศ  เกษทองมา)
ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
นางสาวสุนทรี โอรัตนสถาพร (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ภูวดล  โดยดี (คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร)
ผู้อำนวยการกองบริหารทั่วไป
ผู้อำนวยการกองบริหารวิชาการและนิสิต
ผู้อำนวยการกองบริการกลาง
นางจุลจิรา  มีพรหม (นักสุขศึกษาชำนาญการ)
นายยุทธกร พรหมสาขา ณ สกลนคร (นักวิชาการศึกษาชำนาญการ)
นางสาวเกศรินทร์  บริบูรณ์ (นักวิชาการศึกษาชำนาญการ)
นางสาวจันทร์สุดา  เดชแสงจันทร์ (นักวิชาการศึกษาชำนาญการ)
นางสาวสลิลดา มิระสิงห์ (นักวิชาการศึกษา)

คุณลิขิต                              : หัวหน้างานกิจการนิสิต / หัวหน้าหน่วยแนะแนวและทุนการศึกษา
และนางปิยนาถ  ขวาละคร (นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ)

ผู้เข้าร่วมเสวนาทางห้องประชุม และแบบประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex Meeting

ลำดับ ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง  
1 อาจารย์ฉัฐวัฒน์  ลิมป์สุรพงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ประธานกรรมการ KM
2 อาจารย์เกรียงไกร  พร้อมนฤฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและกิจการนิสิต ผู้ดำเนินกิจกรรม
3 นางสาวโอลักษณ์  เทียมภักดิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทั่วไป ผู้ประสานงาน
4 นางสาวพัทริยา  ศุภอุดร ผู้อำนวยการกองบริหารวิชาการและนิสิต (เข้าประชุมออนไลน์)
5  อาจารย์ ดร.ณภสินธุ์  พัฒนากุล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะวิทศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
6  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนพร ขจรผล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร
7 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ กลิ่นเลขา รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
8 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.วรินท์มาศ  เกษทองมา รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะสาธารณสุขศาสตร์
9 อาจารย์ ดร.นิติกร  ภู่สุวรรณ อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์
10 นายยุทธกร พรหมสาขา ณ สกลนคร นักวิชาการศึกษาชำนาญการ (เข้าประชุมออนไลน์)
11 นางสาวเกศรินทร์  บริบูรณ์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ (เข้าประชุมออนไลน์)
12 นางสาวจันทร์สุดา  เดชแสงจันทร์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
13 นางสาวสลิลดา มิระสิงห์ นักวิชาการศึกษา (เข้าประชุมออนไลน์)
14 นายฤกษ์ชัย  แย้มวงษ์ หัวหน้างานกิจการนิสิต
15 นางสาวจามจุรี  พิมพ์จันทร์ หัวหน้าหน่วยแนะแนวและทุนการศึกษา ผู้จดบันทึกและสรุปประเด็น
16 นางปิยนาถ  ขวาละคร นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ผู้จดบันทึกและสรุปประเด็น
17 นายแสวง  บุญราศรี นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ พิธีกรดำเนินกิจกรรม และเลขาฯKM
18 นางวนิดา  พิลาชัย เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคลชำนาญการ กรรการ KM

 

บทนำ

ด้วยทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตของนิสิต เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้อาจารย์และบุคลากร ได้มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการและการบริหารจัดการการดูแลนิสิตพิเศษ มีทักษะในการสังเกตพฤติกรรมของนิสิตในภาวะความเครียดทางอารมณ์ พร้อมทั้งแนวทางการให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาต่อนิสิต เมื่อนิสิตเกิดความกังวลใจ หรือมีปัญหาติดขัดทั้งในเรื่องการเรียน การใช้ชีวิต เป็นต้น

กระบวนการจัดการความรู้

เริ่มจากการถอดบทเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง แนวทางการให้คำปรึกษาและดูแลนิสิตพิเศษ ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ของอาจารย์ นักวิชาการศึกษาของแต่ละคณะ  ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงด้านการดูแลให้คำปรึกษานิสิตที่มีความผิดปกติทางด้านสุขภาพจิต ในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยสามารถสรุปประเด็นดังนี้

คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนพร  ขจรผล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้ให้ข้อมูลในการดูแลนิสิตภายในคณะดังนี้

1.ช่องทางการรับข้อมูลนิสิตพิเศษ

  • รับข้อมูลจากส่วนกลาง (ศูนย์ งานกิจการนิสิต)

** หมายเหตุ : นิสิติเศษที่คณะ ทอ.ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนิสิตพิการด้านร่างกาย และหูตึง  ซึ่งนิสิตจะอยู่ในความดูแลของส่วนกลางตลอด และนิสิตสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และมีผลการเรียนที่ค่อนข้างดี

  • เพจของคณะ
  • เฟสบุ๊คของคณะ
  • แชทส่วนตัวของนักวิชาการศึกษาคณะ (พูดคุยกันแบบเป็นกันเองเสมือนพี่ช่วยน้อง)

2.วิธีการให้ความดูแลช่วยเหลือนิสิตเบื้องต้น

  • มีระบบการดูแล โดยอาจารย์ที่ปรึกษาโดยตรง
  • มีนักวิชาการศึกษาเป็นผู้ประสานข้อมูลจากส่วนกลาง (ศูนย์ งานกิจการนิสิต)
  • ใช้กิจกรรมช่วยให้นิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษามีโอกาสได้พบปะพูดคุยกัน เช่น กิจกรรมอาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิตใหม่ กิจกรรม Home room เป็นต้น

3.เทคนิคที่ใช้

1.การสังเกต

2.การรับฟัง

3.การส่งต่อการรักษา

4.การส่งต่อข้อมูลนิสิตเพื่อทำการดูแล รักษา

  • เมื่อทางคณะพบว่านิสิตที่เกินความสามารถในการดูแล ทางคณะจะรีบประสานไปที่สถานพยาบาลทันทีเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่พยาบาลในการส่งต่อการรักษา

คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

อาจารย์ ดร.ณภสินธ์ พัฒนากุล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้ให้ข้อมูลในการดูแลนิสิตภายในคณะดังนี้

1.ช่องทางการรับข้อมูลนิสิตพิเศษ

  • รับข้อมูลจากส่วนกลาง (ศูนย์ งานกิจการนิสิต)
  • เพจของคณะ
  • เฟสบุ๊คของคณะ

2.วิธีการให้ความดูแลช่วยเหลือนิสิตเบื้องต้น

  • มีระบบการดูแล โดยอาจารย์ที่ปรึกษาโดยตรง
  • มีนักวิชาการศึกษาเป็นผู้ประสานข้อมูลจากส่วนกลาง (ศูนย์ งานกิจการนิสิต)
  • ใช้กิจกรรมช่วยให้นิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษามีโอกาสได้พบปะพูดคุยกัน เช่น กิจกรรมอาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิตใหม่ กิจกรรม Home room เป็นต้น

3.เทคนิคที่ใช้

  1. การสังเกตพฤติกรรมนิสิตโดยตรง
  2. การพูดคุยผ่านระบบอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอน
  3. การติดตามจากเพื่อน และสื่อโซเชียลของนิสิต

4.การส่งต่อข้อมูลนิสิตเพื่อทำการดูแล รักษา

  • เมื่อทางคณะพบว่านิสิตที่เกินความสามารถในการดูแล ทางคณะจะรีบประสานไปที่สถานพยาบาลทันทีเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่พยาบาลในการส่งต่อการรักษา

 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูวงศ์  กลิ่นเลขา  รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ  แจ้งว่า เนื่องจากนิสิตมีจำนวน 6 ช่องทาง

1.ช่องทางการรับข้อมูลนิสิตพิเศษ

  • ทางตรง เข้าพบ อ.ที่ปรึกษา
  • ขอคำปรึกษาผ่านเจ้าหน้าที่เค้าท์เตอร์
  • Line กลุ่มของรายวิชาเรียน
  • เว็บไซค์คณะ /ฝ่ายกิจการนิสิตของคณะ
  • สายด่วนคณบดี
  • FB คณะ

พบว่ามีนิสิตซึมเศร้า 2 แบบ

1.ซึมเศร้าจริง  – อ.ที่ปรึกษาสังเกตพฤติกรรมจากที่เรียน  อ.ที่ปรึกษาพบนิสิต  เดือนละครั้ง

2.พยายามซึมเศร้า – เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง เช่น เข้าพบ อ.ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่บ่อยๆ

การประสานกับผู้ปกครอง   ยังขาดความเข้าใจและปฏิเสธ ว่าบุตรหลานไม่ได้ป่วย

คณะสาธารณสุขสุขศาสตร์

อาจารย์ดร.วรินทร์มาศ  เกษทองมา  รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า

ด้านวิชาชีพสาธาฯ มีการระบุคุณสมบัติ  ต้องไม่มีความพิการหรือทุพลภาพ  จึงไม่มีนิสิตที่มีความบกพร่องด้านร่างกาย

กรณีนิสิตพิเศษ ด้านความยากจน และด้อยโอกาส

ทางคณะพบนิสิตมีปัญหาด้านสุขภาพจิต  ในระหว่างการศึกษา แต่มีสาเหตุเนื่องมาจากการรับประทานยาลดความอ้วน  จึงมีผลข้างเคียง เช่น อารมณ์ และพฤติกรรม แปรปรวน หูแว่ว ซึ่งทางคณะได้ประสานส่งตัวนิสิตให้ทางสถานพยาบาลรับทราบ เพื่อดูแล และได้ส่งต่อการรักษาไปที่โรงพยาบาล จนสามารถจบการศึกษาได้ และปัจจุบันก็สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติแล้ว และพบกรณีที่มีอาการซึมเศร้าบ้างแต่ไม่รุนแรง

อาจารย์ ดร.นิติกร  ภู่สุวรรณ  อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอีกหนึ่งท่าน ซึ่งอาจารย์ลาไปศึกษาต่อ 4-5 ปี ที่ต่างประเทศ และได้กลับมาแล้ว พบความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ อย่างและวิตกกังวลว่าจะมีกระบวนการและวิธีที่จะดูแลนิสิตอย่างไร?

และพบว่าทางวิทยาเขตมีการพัฒนาและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการดูแลสุขภาพจิตของนิสิตได้ดีมาก โดยที่ทีมงานทุกหน่วยงานยินดีให้ความร่วมมือ

ความคิดเห็น

อาจารย์ ดร.นิติกร  ภู่สุวรรณ กล่าวว่า คณะสาธารณสุขศาสตร์  มองว่า  “จะต้องมีการป้องกันก่อนป่วย” ซึ่งขณะนี้ชุมชนเชียงเครือค่อนข้างวิกฤต เนื่องจากพบเหตุผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายด้วยภาวะโรคซึมเศร้า ในปริมาณเกินอัตราที่กำหนด (ซึ่งปกติแล้วในชุมชนผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าต้องไม่เกิน 7 ราย ต่อประชากร 1 แสนคน) แต่ในเขตเทศบาลตำบลเชียงเครือ เกือบ 8-9 คน ซึ่งเกินจากเกณฑ์มาก และหากมีอาการซึมเศร้า จากสถิติแล้วเพศที่มีโอกาสฆ่าตัวตายสำเร็จมีดังนี้

หากเป็นเพศชาย   มักจะมีโอกาสในการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในครั้งเดียว และเครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่จะ

เป็นการใช้เชือกแขวนคอ

หากเป็นเพศหญิง  ส่วนใหญ่มักจะเป็นการกระทำแบบที่ค่อยๆ ทำร้ายตัวเอง  และสำเร็จในครั้งที่ 3-4 โดย

จะเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น  การใช้ปลายมีดคัทเตอร์ข่วนที่แขน  ใช้เศษกระจก

กรีดที่แขน หรือ ใช้มีดกรีดข้อมือ  กินยาฆ่าตัวตาย กระโดดจากที่สูง การวิ่งให้รถชน และใช้

เชือกแขวนคอ เป็นต้น

อาจารย์ ดร.นิติกร  ภู่สุวรรณ ได้ยกตัวอย่างนิสิตคณะอื่นมาขอคำปรึกษา

นิสิตมีความผูกพันกับคุณพ่อ และชอบวาดรูป แต่ปัจจุบันคุณพ่อของนิสิตเสียชีวิตแล้ว และหลังจากที่คุณพ่อเสียเขาก็มีอาการซึมเศร้าไม่ค่อยไปเรียน และไม่อยากทำอะไร แต่ชอบนั่งวาดรูดอยู่คนเดียว หลังจากที่ให้คำปรึกษานิสิตจึงทราบสาเหตุว่า เพราะคุณพ่อจะชอบให้เขาวาดรูปให้ดู

และแจ้งที่ประชุมทราบว่า สถิติของ ประเทศไทย พบว่าประชากรมีภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายน้อยลง  แต่กำลังกลับมาในปี 2564 นี้  ซึ่งน่ากังวลมาก

การใช้แบบคัดกรองก็สามารถช่วยได้ แต่ไม่ 100%  เป็นการกรองแบบหว่านเพื่อให้วงแคบขึ้นและสามารถพบเคสได้เร็วขึ้น

 นางปิยนาถ  ขวาละคร  นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ผู้ดูแลนิสิตพิเศษของวิทยาเขตฯ แจ้งว่า ขณะนี้งานกิจการนิสิต ร่วมกับทางกรรมการบริหารวิทยาเขตฯ กำลังดำเนินการหารือเกี่ยวกับการสร้างระบบคัดกรองสุขภาพจิตสำหรับนิสิต มก.ฉกส. ซึ่งมีแผนให้นิสิตทุกคนทำแบบคัดกรองสุขภาพจิตปีละ 2 ครั้ง  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ครั้งที่ 1 จะทำในช่วงภาคต้นการศึกษา ใช้แบบทดสอบ 9Q และมีประเด็นการแทรกข้อคำถาม เกี่ยวกับ HPC

ครั้งที่ 2 จะทำในช่วงภาคปลายการศึกษา ใช้แบบทดสอบ 9Q และมีประเด็นการแทรกข้อคำถาม เกี่ยวกับ

แบบวัดความสุขคนไทย

และได้เสนอขอความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา ในการพิจารณาใช้แบบทดสอบดังกล่าวว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่

อาจารย์ ดร.นิติกร  ภู่สุวรรณ ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า

การมีข้อคำถามมาแทรกนั้น อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของแบบทดสอบได้ ซึ่งปกติแล้วการออกแบบเครื่องมือต่างๆ ก็จะผ่านกระบวนการกลั่นกรอง และวิจัยเครื่องมือมาแล้ว และการที่นำข้อคำถามอื่นมาแทรกนี้อาจจะทำให้กระบวนการคิดของผู้ตอบแบบทดสอบเปลี่ยนไปหรือไม่  ซึ่งเกรงว่าอาจจะทำให้ได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

อาจารย์ดร.วรินทร์มาศ  เกษทองมา  ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า

เครื่องมืองานวิจัย ยังต้องมีการขออนุญาตใช้ เครื่องมือของกรมสุขภาพจิต มีการใช้ซ้ำมาอย่างต่อเนื่อง และเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้บริการในรูปแบบออนไลน์ได้ ซึ่งคิดว่ามีความจำเป็นที่ต้องปรับหรือไม่

ผู้อำนวยการกองบริหารวิชาการและนิสิต (นางสาวพัทริยา  ศุภอุดร) แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดทำระบบคัดกรองให้แก่ที่ประชุมรับทราบว่า

ขณะนี้ระบบคัดกรองด้านสุขภาพจิต นิสิต มก.ฉกส. ที่ทางศูนย์ Happy Place Center เป็นผู้ดูแล อยู่ระว่างการขับเคลื่อนระบบร่วมกับทีมโปรแกรมเมอร์ และมีการทดสอบการใช้งานจำนวนหลายครั้ง  ซึ่งก็อยู่ระหว่างการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล และการรักษาชั้นความลับ การวิเคราะห์ระบบกับรายงานผล เพื่อให้ระบบมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และคาดว่าจะสามารถเริ่มทดลองใช้ใน ภาคต้น ปีการศึกษา 2564 (แต่อาจจะไม่ได้ตั้งแต่ช่วงเปิดภาคเรียน)

และการดำเนินงานนั้น มีแนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบาย  มีการวางแผน และการดูแลร่วมกับทุกภาคส่วน  ขอให้เพิ่มเติมในตอนนี้ เพราะยัง on process  เพื่อความเรียบร้อยของระบบ

ส่วนเรื่องแบบทดสอบจะนำข้อเสนอแนะจากทีมกรรมการในที่ประชุม เข้าร่วมหารือกับทีมงานอีกครั้ง

ผู้อำนวยการกองบริหารวิชาการและนิสิต แจ้งว่าอาจารย์ที่ปรึกษาต้องทราบ สถานะของนิสิตในที่ปรึกษาของตนเองซึ่งอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญของ คณะสาธาฯ  มาหารือร่วมกับทีมงานอีกครั้ง

ข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่อง ฐานข้อมูล  

ผู้อำนวยการกองบริหารวิชาการและนิสิต  แจ้งว่า จะพยายามทำระบบให้สามารถใช้ข้อมูลจากการจัดทำระบบคัดกรองนี้ให้ได้มากที่สุด และจะมีการจัดเก็บประวัติทุกอย่างให้วิทยาเขต ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตฯ พยายามย้ำให้เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบอาจารย์ที่ปรึกษา

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูวงศ์  กลิ่นเลขา  มีความกังวลใจเกี่ยวกับการเข้าถึงระบบคัดกรองที่เชื่อมโยงกับระบบอาจารย์ที่ปรึกษานั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ที่ปรึกษา เรื่องของจรรยาบรรณอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งบางท่านอาจนำข้อมูลนิสิตไปเปิดเผยโดยไม่ได้มีเจตนา จะมีแนวทางในการป้องกันอย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนพร  ขจรผล  ได้สอบถามเพิ่มเติมว่า กรณีระบบการจัดการสัมฤทธิ์  การที่อาจารย์ที่ปรึกษารับทราบข้อมูลแล้ว  อาจต้องให้คำแนะนำต่อว่าแต่ละกลุ่มต้องดำเนินการอย่างไร

คุณจันทร์สุดา  เดชแสงจันทร์  แจ้งต่อที่ประชุมให้กำชับเรื่องการเปิดเผยข้อมูลให้มาก หากข้อมูลถูกเปิดเผย หรือข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิตนิสิตเกิดมีการรั่วไหล แล้วนิสิตคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงไม่ยอมรับว่าตนอยู่ในกลุ่มดังกล่าว จะมีแนวทางป้องกันอย่างไร

** เราต้องให้ความสำคัญกับผู้ปกครอง  อยากให้ข้อมูลกับผู้ปกครอง  เรื่องการคาดหวังและความกดดัน

การดูแลนิสิตพิเศษในมุมมองของนักวิชาการศึกษา ของทั้ง 4 คณะ

 นักวิชาการศึกษา คณะ ทอ.

มีหน้าที่ประสานงานกับนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษา และรับ-ส่ง ข้อมูลเกี่ยวกับนิสิตพิเศษผ่านทางเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของวิทยาเขตโดยตรง

การให้ความดูแล

พยายามให้คำปรึกษาทั่วไป โดยไม่ได้มีหลักการอะไร และทำตัวกลมกลืนกับนิสิตเหมือนเป็นพี่ชาย เพื่อให้นิสิตรู้สึกเป็นกันเองและกล้าเข้ามาขอคำปรึกษามากขึ้น  บางครั้งที่นิสิตมีปัญหาและไม่กล้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา จะทักมาหาก่อน และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกรณีที่ไม่คาดคิดนั้น นิสิตกลับเข้ามาเรียนและเกิดความเครียดซ้ำ หลังจากที่ทางคณะช่วยกันดูแลแล้ว คิดว่าดีขึ้นแล้ว แต่กลับเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด จึงอยากให้ส่วนกลางช่วยจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เพื่อนๆ นิสิตด้วย เช่น “กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน”

ช่องทางในการให้บริการ

1.สามารถให้ช่องทางส่วนตัว

2.เป็นแอดมินกลุ่ม FB. คณะ

นักวิชาการศึกษา คณะ วว.

มีหน้าที่ประสานงานกับนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษา และรับ-ส่ง ข้อมูลเกี่ยวกับนิสิตพิเศษผ่านทางเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของวิทยาเขตโดยตรง

การดูแลนิสิตพิเศษ

ปัจจุบัน พบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการยอมรับในกลุ่มเพื่อน ระบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน” เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ปัจจุบันนิสิต ไม่กล้าเข้าหาอาจารย์ที่ปรึกษา  หรือบางคนเลือกที่จะไม่พูดจนเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง ส่วนนิสิตพิเศษด้านร่างกาย  มีระบบเพื่อนช่วยเพื่อน  มีบัดดี้ และระบบการรักษา  จนสามารถสำเร็จการรักษาได้ด้วยดี

การให้ความช่วยเหลือนิสิตยากขึ้น  เพราะนิสิตจำนวนมากขึ้นจากเดิม วัยรุ่นตอนปลายมีปัญหาในการปรับตัวโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนิสิตที่จะต้องไปฝึกงาน หรือ กลุ่มนิสิตสหกิจศึกษา จะพบปัญหาด้านการปรับตัวในช่วงฝึกงาน บ่อยมาก และเจ้าหน้าที่มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางด้านจิตวิทยา จึงอยากมีส่วนช่วยดูแลให้คำ

ช่องทางในการให้บริการ

ช่วงหลังไม่ค่อยพบแล้ว ในการที่นิสิตจะเดินเข้ามาหาเนื่องจากมีสื่อโซเชียลทำให้ห่างกันทางคณะ  มีการ ปชส. ช่องทางในการให้คำปรึกษาต่างๆ เคส ที่มีปัญหา  น้องได้รับทุนค่าเทอมจากทางคณะแล้ว  แต่ก็ยังพบปัญหา

1.FB.คณะ

2.line คณะ

3.โทรศัพท์

นักวิชาการศึกษา  คณะ ศว.

การดูแลนิสิตพิเศษ

การช่วยเหลือนิสิต ศว. จะคล้ายกับ   2 คณะ

ยกตัวอย่างปัญหาที่พบ

กรณีที่ 1

มีนิสิตสาขาหนึ่ง มีความคาดหวังในการเรียนค่อนข้างสูง  ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในระบบการดูแลของสถาพยาบาล  มีโอกาสได้ติดตามไปดูแล พบว่า แทบไม่มีความแตกต่างจากนิสิตทั่วไป มีการกล่าวโทษให้กับอาจารย์ว่า “ออกข้อสอบไม่ตรงกับที่สอน”  ได้เพียงปลอบใจแบบพี่สอนน้อง ไม่ให้คิดมาก แต่สังเกตได้ว่านิสิตไม่กล้าสบตาในขณะที่พูด

กรณีที่ 2

ผู้ปกครอง  มีอาการเป็นมากกว่า  โดยทำอะไรแทน  จนนิสิตอาจไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เอง  จนทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง  ไปฝึกงานในบริษัทญาติของคุณแม่  อาจไม่ค่อยมีปัญหาในการฝึกงาน แต่อาจเป็นปัญหาในใจนิสิต

กรณีที่ 3

เป็นนิสิตหน้าตาดี  มีใบรับรองอาการป่วย และพยายามจะบอกว่าตนเองเป็นผู้มีปัญหา เรียกร้องความสนใจ มีปัญหาค่าใช้จ่าย ติดต่อขอความช่วยเหลือเรื่องทุนการศึกษา แต่เมื่อทางคณะให้ทุนการศึกษาไป 1 เทอม นิสิตก็ลาออก

กรณีที่ 4

เกิดปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มเพื่อนในช่วงฝึกงาน จนต้องแยกแผนก ซึ่งทราบว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากนิสัยส่วนบุคคล คือ การโกหก โดยที่นิสิตคนดังกล่าวชอบมีพฤติกรรมการโกหกจนเป็นนิสัย และคิดว่าไม่ใช่สิ่งผิด แต่เพื่อนๆไม่ชอบ

นักวิชาการศึกษา คณะ สศ.

การดูแลนิสิตพิเศษ

นักวิชาการศึกษา แจ้งว่า ปกตินิสิตที่มาพบส่วนใหญ่ไม่เครียดมาก แต่กรณีที่เป็นมากจะทราบข้อมูลจากเพื่อน  และในหอพัก  ไม่ค่อยพบนิสิตเข้ามาขอคำปรึกษาที่คณะ และพบว่าส่วนใหญ่นิสิตจะเครียดจากครอบมากกว่าการเรียน

 การส่งต่อรักษา

ทางสถานพยาบาลแจ้งว่า หากดูแลไม่ไหวให้ส่งต่อ

ยกตัวอย่างปัญหาที่พบ

กรณีที่ 1

นิสิตมีภาวะเครียดเรื่องการเรียน  ได้รับความกดดัน จากครอบครัวด้วย แต่ทราบภายหลังจากออกจาก โรงพยาบาลแล้วทราบว่า นิสิตเคยกินยาฆ่าตัวตาย แต่โชคดีที่นิสิตมีเพื่อนช่วยเยียวยา

กรณีที่ 2

นิสิตมีอาการประสาทหลอน และสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ทราบสาเหตุว่านิสิตทานยาลดน้ำหนัก แล้วเกิดผลข้างเคียง จึงได้ประสานแจ้งทางสถานพยาบาล เพื่อดูแลช่วยเหลือต่อไป ปัจจุบันนิสิตหายดีและสำเร็จการศึกษาแล้ว

กรณีที่ 3

นิสิตมีภาวะซึมเสร้า แต่เมื่อสอบถามก็ไม่ยอมพูดอะไร จึงได้ประสานส่งต่อให้ทางสถานพยาบาลและแจ้งให้ผู้ปกครองมารับไปแล้ว  และมีจุดสังเกตบุคลิกและพฤติกรรมของคนในครอบครัวแล้ว พบว่าที่มาของปัญหาน่าจะมีแนวโน้มมาจากทางครอบครัว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนพร  ขจรผล  ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าในการป้องกันนิสิต เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะต้องทำ แบบสอบถามการกรองสุขภาพจิต ซึ่งปัจจุบันนิสิตมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งมุมมอง ความคิด พฤติกรรม ไม่เหมือนเดิม ความคาดหวังเยอะ ความผิดพลาด ปัญหาที่ถูกส่งต่อจากทางบ้าน  มุมมอง mine set ของนิสิต  หากเราจะ อินพุท  ในการปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด

 จากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านการให้คำปรึกษาช่วยเหลือนิสิตของทั้ง 4 คณะนั้น พบว่าแต่ละคณะมีช่องทาง และรูปแบบการให้ความดูแลช่วยเหลือนิสิตที่หลากหลาย แต่อาจมีบางส่วนที่คล้ายกัน เช่น การนำกิจกรรม  เข้ามาเป็นตัวช่วยในการเบี่ยงเบนนิสิตไม่ให้มีพฤติกรรมแยกตัว หรือเก็บตัว เพิ่มบทบาทการดูแลให้ทั่วถึงโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษานิสิตเป็นผู้ประสานงานหลัก เช่น กิจกรรมอาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิต บางคณะอาจมีการกำหนดความถี่ในการพบปะ พูดคุยกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิต สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง/ สัปดาห์  หรือเดือนละ 1 ครั้ง เป็นต้น

และมีการนำกิจกรรมเข้ามาเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิต และคณะ เพื่อป้องกันไม่ให้นิสิตใช้ชีวิตตามลำพังในระหว่างที่ศึกษา เช่น กิจกรรมกีฬาคณะ กิจกรรม Home room กิจกรรมคณบดีพบนิสิต เป็นต้น

แนวทางการดูแลและให้คำปรึกษากับนิสิตพิเศษ

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า ไม่มีวิธีการ หรือเทคนิคไหนที่ใช้ได้กับกรณีไหนได้เฉพาะเจาะจง เพราะทุกกรณีย่อมมีความแตกต่างกัน ไม่สามารถใช้วิธี หรอเทคนิคตายตัวได้ ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาช่วยเหลือผู้อื่นนั้น จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อที่จะได้ให้คำปรึกษาช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญคือ ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีจรรยาบรรณในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีด้วย

สรุปรวบรวมข้อมูลโดย งานกิจการนิสิต

แชร์...