คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม การจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการโครงการการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม
- ส่วนงานที่ร่วมดำเนินการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร
- ระยะเวลาดำเนินการ มีนาคม 2566-กุมภาพันธ์ 2567
- กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสกลนคร นครพนม จำนวน 200-300 คน
โดยมีวัตถุประสงค์
- เพื่อจัดทำรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก และแผนการลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด
- เพื่อจัดทำรายงานสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัด ตามแนวทางของแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ และจัดทำแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่
ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการ
1. ผลประโยชน์ต่อเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โครงการฯ เป็นการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่ เพื่อช่วยให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผน NDC ในปีพ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)
2. ผลประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชน
- 1) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและชุมชนในการบริหารจัดการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่
- 2) ประชาชนและชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในแนวทางการพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำจากการบริหารจัดการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก
- 3) ประชาชนและชุมชนมีความเข้าใจถึงผลกระทบ และเสริมสร้างบทบาทให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาแผนปฏิบัติการการปรับตัวต่อผลกระทบตามกรอบของแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
3. ผลประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการฯ เป็นกลไกในการขับเคลื่อน/สนับสนุนส่งเสริมในเกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และเสริมสร้างการดูดซับ-กักเก็บคาร์บอน รวมถึงการลดความเสี่ยงของการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก
4. แนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในอนาคต แผนในการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกในจังหวัดและขับเคลื่อนแผนการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศถูกบรรจุในแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดที่มีการติดตามผลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นโครงการที่เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน