โครงการวิจัยเรื่อง “ความหลากหลายของมดในเขตลุ่มแม่น้ำสงคราม” โดย คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ร่วมกับ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คณะเกษตร กำแพงแสน ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (แหล่งทุน) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบความหลากชนิดและการแพร่กระจายของมดในเขตลุ่มแม่น้ำสงคราม (2) สถานภาพของมดต่างถิ่นในเขตแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา ระยะเวลาดำเนินงาน กรกฎาคม 2566 – มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการเกษตรบริเวณลุ่มแม่น้ำสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ และ จังหวัดนครพนม จำนวน 50 คน
ผลการดำเนินงาน ดังนี้
- นักวิจัยทำการรวบรวมมดที่สำรวจแต่ละพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ (ในภาพบริเวณทางเดินของป่าชุมชน)
- แผนที่แสดงการเก็บตัวอย่างมด แสดงผ่านระบบ GIS รวม 54 พื้นที่สำรวจบริเวณลุ่มแม่น้ำสงคราม
- ตัวอย่างมดต่างถิ่นที่พบในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสงคราม วงศ์ย่อยมดคันไฟ
- นักวิจัยวางกับดักและเก็บตัวอย่างมด บริเวณแม่น้ำสงครามต่อกับแม่น้ำโขง (แม่น้ำสองสี)
จากงานวิจัยความหลากหลายของมดในเขตลุ่มแม่น้ำสงคราม ได้ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ประโยชน์ และโทษของมด อันเป็นองค์ความรู้กระตุ้นให้ประชาชนหวงแหนทรัพยากรท้องถิ่นที่มีคุณค่า เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
การเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ/ กิจกรรม นำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า –Oral presentation ในที่ประชุม The 4th Thailand International Symposium on Natural History Museums: Era of Ecosystem Restoration at the Rama 9 Museum, National Science Museum, Pathum Thani, Thailand during 21–22 December 2023 https://tisnhm.nsm.or.th/
A revision of the ant genus Technomyrmex Mayr, 1872 (Hymenoptera: Formicidae: Dolichoderinae) in Thailand เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารที่มีการอ้างอิงในฐาน Scopus ซึ่งได้ส่งต้นฉบับไปพิจารณาแล้ว วันที่ 19 ธันวาคม 2566 หมายเลข NHBSS 2023.12.19-1 (ผู้ทรงคุณวุฒิกำลังพิจารณา)