คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ร่วมกับ สหกรณ์จังหวัดสกลนคร และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดทำโครงการ “ผ้าทอรักษ์โลก Eco Friendly Textile” ภายใต้โครงการวิจัย “โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากภูปัญญาท้องถิ่น” ปีงบประมาณ 2567
โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับ SDGs 1 (เป้าหมายขจัดความยากจน กิจกรรมย้อม ทอ และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างรายได้ในช่องทางเสริมนอกฤดูการทำนา) และ SDGs 12 (เป้าหมายสร้างหลักประกันให้มีการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ) (2) เพื่อเป็นการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมโดยการย้อมผ้าและเส้นใยด้วยสีจากธรรมชาติ ใบสมอและเปลือกอินทนิล จากทรัพยากรเศรษฐกิจพื้นฐานชุมชน (3) จัดการกระบวนการและออกแบบผ้าทอจากเส้นใยย้อมสีธรรมชาติ เพื่อลดเวลาและลดต้นทุน (4) สร้างความแตกต่างผลิตภัณฑ์แปรรูปกระเป๋า งานวิจัยมีกระบวนการได้แบ่งสมาชิกในวิสาหกิจเป็นกลุ่มย้อม กลุ่มทอ และกลุ่มแปรรูปผ้า ตามศักยภาพรายบุคคล และทำการเติมองค์ความรู้ตามแนววิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านขาไก่ประมาณ 30 คน เข้าร่วมโครงการ และนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ
โครงการส่งเสริมอาชีพให้ชุมชนตามเป้าหมายที่ 2 ขจัดความยากจน มุ่งเน้นแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน ส่งผลให้เกิดเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน (Expected Benefits and Application) ดังนี้ (1) เปลี่ยนจากย้อมสีผสมเคมี มาเป็นสีธรรมชาติ (2) สร้างสรรค์เฉดสีด้วยโคลน ขี้เถ้า สารส้ม แทนการใช้สารติดทนสี (3) ทอผ้าเพื่อสร้างลาย ทุ่งข้าวขั้นบันไดสีทอง ด้วยการเพิ่มช่องว่าง (4) เพิ่มกำลังการผลิตผ้าพันคอ จาก 3 ผืนเป็น 4 ผืนต่อวัน (5) ลดต้นทุนผ้าร้อยละ 30 (6) สร้างรายได้มากกว่า 35,000 บาท ในระยะเวลา 3 เดือน